วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553

พัฒนาการทางภาษาสำหรับเด็ก



Q: เท่าที่อ่านจากหนังสือบางเล่ม เขาบอกว่าการให้ลูกทานอาหาร จะช่วยฝึกพัฒนาการด้านการพูดได้ด้วย จริงหรือไม่ และเป็นอย่างไรคะ


A: จริงค่ะ เพราะกล้ามเนื้อที่ใช้ทานอาหารและพูดเป็นกล้ามเนื้อเดียวกัน ตอนที่ลูกเรียนรู้การทานอาหารอ่อน เขาก็จะเริ่มฝึกการเคี้ยวไปด้วยการใช้ลิ้นดุนอาหารไปยังเหงือกเพื่อบดอาหารให้ละเอียด เมื่อเริ่มโตขึ้น ลูกจะเริ่มเรียนรู้การใช้งานของลิ้นและริมฝีปากร่วมกัน โดยเริ่มใช้ลิ้นผลักและดันอาหารไปด้านหน้าเพื่อให้ออกจากปาก
จากนั้น พัฒนาการการใช้ปลายลิ้นเริ่มมีมากขึ้นเมื่อลูกเริ่มเคี้ยวเป็น ซึ่งนี่เป็นส่วนสำคัญในพัฒนาการด้านการพูด เพราะเสียงที่เปล่งออกมาก็เกิดจากการใช้ปลายลิ้นทั้งนั้น เช่น ตัว ท.ทหาร และ ด.เด็ก เมื่อลูกรู้จักควบคุมการใช้ลิ้น ริมฝีปาก็จะถูกใช้ให้เปิดกว้างเพื่อรับอาหารจากช้อนเข้าปาก และเริ่มเรียนรู้วิธีการกลืนในช่วงนั้น อาหารประเภทซุปข้นหรืออาหารที่มีเนื้อสัมผัสจะส่งให้เกิดปฎิกิริยาตอบสนองต่อการเคี้ยว ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญของพัฒนาการทางการพูด ดังนั้น การให้อาหารลูกน้อยถือเป็นการบริหารการใช้ริมฝีปาก ขากรรไกรและลิ้น เป็นการเตรียมตัวเบื้องต้นสำหรับศิลปะในการออกเสียงในอนาคต


 

Q: เริ่มให้ลูกทานอาหารอ่อนตอนช่วง 4-6 เดือน จะช้าไปหรือมีผลต่อพัฒนาการด้านภาษาของลูกไหมคะ


 A: การให้อาหารเสริมตามวัยควรเริ่มเมื่อลูกอายุได้ 6 เดือนค่ะ แต่เด็กแต่ละคนก็มีความต้องการช้าเร็วต่างกันไป การให้อาหารเสริมตามวัยหลังจาก 6 เดือน ไม่ได้มีผลต่อพัฒนาการด้านการใช้ภาษาของลูกโดยตรงเท่าไหร่นัก แต่ถ้าลูกเรียนรู้การเคี้ยวช้า หรือยังคงดูดนมจากขวดอยู่ ลูกอาจจะมีปัญหาเรื่องการออกเสียงในตอนโตได้ อาหารเหลวสามารถช่วยพัฒนาการใช้กล้ามเนื้อริมฝีปากและลิ้นสำหรับการพูดค่ะ เช่นเดียวกันกับอาหารอ่อนจะช่วยส่งเสริมได้มากกว่าอาหารข้นเพราะจะมีส่วนช่วยในการฝึกเคี้ยวมากกว่า หากยังให้ลูกทานซุปข้น อาจทำให้ลูกคายอาหารออกมาได้ และเรียนรู้การเคี้ยวได้ช้าลง หลายๆ เสียง ไม่สามารถพัฒนาได้ในเวลาเดียวกัน บางเสียงอาจออกเสียงได้ยากกว่าเสียงอื่นๆ และจะพัฒนาขึ้นเมื่อลูกโตกว่านี้ค่ะ



Q: ทำอย่างไรถึงจะทำให้ลูกรู้สึกว่าเวลาทานอาหารเป็นช่วงเวลาที่น่าสนุกคะ


 A: การให้อาหารเสริมตามวัยแก่ลูก สามารถเป็นได้ทั้งช่วงเวลาสนุกและช่วงเวลาของความวุ่นวายค่ะ ความวุ่นวายคือ ทั้งคุณแม่และคุณพ่อจะรู้สึกกังวลว่าควรจะให้อาหารมากน้อยแค่ไหนถึงจะเพียงพอต่อความต้องการของลูก รวมทั้งการเตรียมอาหารให้ลูก และการบังคับให้ลูกทาน แต่ความสนุกก็คือ คุณพ่อคุณแม่สามารถให้ช่วงเวลาทานอาหารเป็นช่วงเวลาที่คุณและลูกได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตา ได้เล่น ได้หลอกล่อ ได้แลกเปลี่ยน ได้เรียนรู้และสอนการใช้ภาษาให้กับลูก  ช่วงเวลานี้ยังเป็นช่วงเวลาที่ลูกได้ฝึกบริหารริมฝีปากและการควบคุมการใช้ลิ้น รู้จักการดูดกลืนอาหาร การเคี้ยว ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการฝึกพูดในช่วงต่อไป คุณแม่และคุณพ่อควรใช้เวลาในการให้อาหารเสริมตามวัยของลูกเป็นโอกาสที่จะได้สื่อสารกับลูก ผ่านการตั้งชื่ออาหารต่างๆ ให้เขา หรือสอนลูกให้เคี้ยวและกลืนเป็น จำไว้เสมอว่า นี่คือการเริ่มต้นของพัฒนาการการพูดค่ะ



Q: คุณพ่อคุณแม่ควรจะมีวิธีพูดกับลูกอย่างไร เพื่อจะช่วยฝึกให้ลูกมีพัฒนาการทางภาษาที่ดี


A: คุณพ่อคุณแม่ควรเป็นแบบอย่างที่ดี คือ

- พูดเสียงดัง ฟังชัด
- นั่งใกล้ๆ กับลูก
- พยายามสบตากันให้มากที่สุด
- ส่งเสริมและให้กำลังใจด้วยการพูดและแสดงสีหน้าท่าทางที่มากกว่าปกติให้ลูกได้ฟัง
- ออกเสียงให้ชัดเจน และถูกต้องอย่างช้าๆ
- ใช้น้ำเสียงที่นุ่มนวลและอ่อนหวาน
- ใช้ประโยคง่ายๆ พูดกับลูก เช่น ลูกช่วยเอาแก้วให้คุณพ่อหน่อยได้ไหมจ๊ะ
- หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาแบบเด็กๆ เมื่อลูกอายุมากกว่า 12 เดือน
- เป็นคุณพ่อคุณแม่ที่ให้ความสนใจและใส่ใจในสิ่งที่ลูกพูด
- เป็นนักสื่อสารที่ดีและมีความตื่นตัวกับสิ่งที่ได้ยินได้ฟังเสมอ
- ให้คำชมแก่พวกเขา
- โต้ตอบอย่างเป็นธรรมชาติและเป็นประโยคที่สมบูรณ์
- สำคัญที่สุดคือพยายามทำทุกอย่างดังกล่าวให้เป็นเรื่องสนุก


 

Q: ปัจจุบัน คุณแม่คุณพ่อส่วนใหญ่จะรู้สึกระมัดระวังและค่อนข้างเปรียบเทียบพัฒนาการของลูกตัวเองและลูกคนอื่นในวัยเดียวกันมากขึ้น แต่จริงๆ แล้ว พวกเขาควรกังวลเฉพาะเมื่อลูกของเขามีพัฒนาการทางภาษาช้ามากกว่าจะไปเปรียบเทียบกับลูกคนอื่นใช่หรือไม่คะ


 A: โดยทั่วไปแล้ว การพูด การออกเสียง และการใช้ภาษาจะมีพัฒนาการตามรูปแบบของมัน แม้ว่าจะมีมาตรฐานว่าอายุเท่านี้ ควรมีพัฒนาการได้เท่านี้ ซึ่งจริงๆ แล้วในแต่ละช่วงพัฒนาการก็มีอะไรหลายๆ อย่างต่างกันไป แม้ว่าเด็กที่ยังไม่สามารถพูดได้จนอายุ 2 ปี จะเรียนรู้ภาษาในเวลาไล่เลี่ยกัน และต้องใช้เวลาในการลำดับการเรียนรู้มากกว่าเดิม แต่จำไว้ว่า พัฒนาการต่างๆ นั้น มีหลายๆ อย่างให้เรียนรู้ และเด็กแต่ละคนก็มีความแตกต่างกันในการพัฒนาตามความรู้สึกของแต่ละคนค่ะ
ภาษาคือ ความเข้าใจและการใช้คำ ในความเป็นจริง ภาษาของเด็กนั้นเรียนรู้ตั้งแต่เกิด โดยการฟัง การตอบสนองต่อครอบครัว และทุกอย่างจะพัฒนาเมื่อถึงเวลาของมัน เด็กบางคนอาจพัฒนาได้เร็วกว่าคนอื่น แต่บางคนอาจช้ากว่าคนอื่นก็ได้ ลองมาดูตัวอย่างว่าเด็กวัยใด ควรมีพัฒนาการอย่างไรบ้างค่ะ

0-12 เดือน
- พึมพำ (มัม ป้อ หม่ำ)
- เลียนแบบเสียงสิ่งต่างๆ (บรื๊นนน ซึ่งเป็นเสียงรถยนต์)
- ทำคลื่นหรือปรบมือหากมีคนเรียกร้อง


12-18 เดือน

- เริ่มชี้เรียกชื่อสิ่งของ
- เริ่มพูดคำเดี่ยวๆ เช่น แมว นม
18-24 เดือน- พูดหลายๆ คำ
- ผสมคำเข้าด้วยกัน เช่น หิวนม
- ฟังเรื่องเล่าสั้นๆ จากพ่อแม่
- เข้าใจคำถามง่ายๆ เช่น กล้วยอยู่ไหน

2-3 ปี
- เริ่มใช้ 3-5 คำ ต่อประโยค
- บอกคุณว่าเขากำลังทำอะไรอยู่
- ถามคำถาม
- เข้าใจความหมายต่างๆของคำ เช่น ใหญ่ เล็ก ใน นอก ใต้


Q: แล้วเมื่อไหร่คุณแม่คุณพ่อจึงควรกังวลใจว่าลูกเริ่มมีพัฒนาการทางการใช้ภาษาที่ช้ากว่าปกติคะ


A: เด็กบางคน จะมีพัฒนาการต่างๆ ที่ช้ากว่าปกติ ถ้าลูกใช้เวลาในการเรียนรู้การคลาน การเดิน การกินอาหารเหลวช้า ก็อาจเป็นไปได้ว่าพัฒนาการทางการพูดจะช้าไปด้วย แต่ถ้าลูกเข้าใจสิ่งที่พ่อแม่บอก และสามารถทำตามคำแนะนำคือลูกสามารถชี้บอกได้ว่าต้องการอะไร แสดงว่าลูกอาจจะมีพัฒนาการทางการพูดช้าและมีความเป็นไปได้ที่จะมีพัฒนาการอย่างสมบูรณ์เมื่อโตขึ้นค่ะ
แต่ในทางกลับกัน หากเด็กไม่สามารถตอบสนองต่อสิ่งที่พ่อแม่ขอให้ทำ และไม่สามารถเลียนแบบหรือจดจำเสียงต่างๆ ได้เลย และเวลาได้ยินเสียงดังๆ ลูกก็ไม่รู้สึกตกใจ คุณแม่ควรพาลูกไปรับการตรวจเช็คหูและประสาทรับฟัง ปัญหาการได้ยิน ถือเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มีส่วนสำคัญต่อพัฒนาการการพูดค่ะ

เด็กหลายคนควรจะสามารถเข้าใจบทสนทนาจากคนแปลกหน้าได้เมื่อพวกเขาอายุ 3-4 ปีขึ้นไป หากลูกของคนมีปัญหาในเรื่องนี้ พยายามปรึกษาคุณหมอหรือที่ปรึกษาเกี่ยวกับการพูดและฟังสำหรับเด็กแต่เนิ่นๆ เพื่อช่วยพัฒนาต่อไปค่ะ

 

Q: มีกิจกรรมหรือการออกกำลังกายแบบใดบ้างที่สามารถช่วยให้ลูกพูดหรือเปล่งเสียงได้อย่างชัดเจนบ้างคะ


A: หากลูกพูดไม่ชัด ลองให้ลูกทำท่าทางเป่าของ ดูดของหรือเคี้ยวของ เพราะจะช่วยฝึกกล้ามเนื้อรอบๆ ปาก เพื่อช่วยให้เขาสามารถพูดได้มากขึ้น คุณพ่อคุณแม่เองก็ควรพยายามส่งเสริมให้ลูกเล่นเป่าลูกโป่ง ฟองอากาศ หรือเศษกระดาษทิชชู่ นอกจากนี้ อาจจะช่วยฝึกให้ลูกดูดน้ำจากหลอด และให้เค้าลองเคี้ยวอาหารเหลวดู คุณแม่คุณพ่อควรระลึกไว้เสมอว่า ควรจะมองหาผู้เชี่ยวชาญหรือที่ปรึกษาด้านการพูดและฟัง เพื่อมั่นใจได้ว่าลูกๆ จะได้รับการรักษาและฝึกฝนหากเขามีปัญหาในเรื่องพัฒนาการทางการพูดและการใช้ภาษาจริงๆ ค่ะ


 
Q: ขอบคุณมากค่ะสำหรับคำแนะนำที่มีประโยชน์ ไม่ทราบว่ามีคำแนะนำอะไรทิ้งท้ายสำหรับคุณพ่อและคุณแม่ไหมคะ


A: คุณพ่อและคุณแม่ควรพูดหรือร้องเพลงให้ลูกฟังขณะอาบน้ำ แต่งตัว หรือป้อนอาหาร การได้ใช้น้ำเสียงที่หลากหลายพร้อมแสดงออกทางสีหน้าและท่าทาง จะช่วยพัฒนาพื้นฐานการพูดของลูกได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ คุณแม่และคุณพ่อสามารถช่วยส่งเสริมการฝึกฝนโดยการมอบรางวัลเมื่อลูกพูดคำใหม่ๆ ได้ โดยการให้คำชม อ้อมกอด หรือจูบซักฟอดค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การพูดไม่ชัด

การพูดไม่ชัด
การพูดไม่ชัด
เป็นความผิดปกติเกี่ยวกับการเปล่งเสียงพูด ซึ่งมีทั้งเสียงสระ พยัญชนะ และเสียงวรรณยุกต์

ลักษณะการพูดไม่ชัด
แบ่งได้ออกเป็น 4 ลักษณะ
 พูดอออกเสียงโดยใช้เสียงพยัญชนะหรือเสียงสระอื่นแทนเสียงที่ควรพูด เช่น ใช้ อ อ่าง แทน ก ไก่ เมื่อพูดคำว่า “ไก่” จึงออกเสียงเป็น “ไอ่” หรือใช้สระ เอ แทน สระ แอ พูด “เกง” แทน “แกง”
 พูดออกเสียงไม่ครบทุกเสียง มีการเว้นไม่ออกเสียงพยัญชนะบางเสียง เช่น “กลาง” พูดเป็น “กาง” “นอน” พูดเป็น “นอ”
 พูดผิดเพี้ยนไปจนฟังไม่ออกว่าเป็นเสียงสระ หรือเสียงพยัญชนะใด
 พูดเติมเสียงสระ หรือพยัญชนะเข้าไปในคำ เช่น พูด “กะริน” แทน “กิน”

สาเหตุการพูดไม่ชัด
1. โครงสร้าง หรือการทำงานของอวัยวะเกี่ยวกับการพูด หรือการฟังผิดปกติ ได้แก่
 เกิดความบกพร่องในการทำงานของระบบประสาท และกล้ามเนื้อที่ช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูด ได้แก่ ลิ้น เพดานอ่อน หรือลิ้นไก่ เป็นอัมพาตอ่อนแรง ทำให้ออกเสียงพยัญชนะ และสระผิดเพี้ยนไป
 ปากแหว่ง เพดานโหว่ ทำให้พูดไม่ชัด เพราะเด็กใช้อวัยวะไม่ถูกต้องในการออกเสียงพูด การพูดไม่ชัด ในกรณีนี้เป็นปัญหาร่วมกับการพูดเสียงขึ้นจมูก
 มีความผิดปกติที่อวัยวะในช่องปาก เช่น เส้นยึดใต้ลิ้นสั้นมาก เพดานโหว่
 หูพิการ ไม่ได้ยินเสียงพูดของผู้อื่นหรือได้ยินแต่ไม่ชัดทำให้การเลียนแบบไม่ถูกต้อง ตัวผู้พูดเองไม่ได้ยินเสียงของตนเอง ทำให้ไม่สามารถปรับการพูดของตนเองให้ถูกต้อง ชัดเจน
 ปัญญาอ่อน เด็กที่ระดับสติปัญญาไม่ดี มักมีปัญหาการพูดไม่ชัด
2. การเรียนรู้การพูดไม่ถูกต้อง
เด็กจำนวนมากพูดไม่ชัดเนื่องจากสาเหตุเด็กเหล่านี้มีโครงสร้างและการทำงานของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูดเป็นปกติ บางรายอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี เช่น อยู่กับคนที่พูดไม่ชัด ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดไม่ได้ กระตุ้นให้เด็กพูดให้ถูกต้องชัดเจนตั้งแต่แรก เด็กขาดโอกาสในการเลียนแบบการพูดที่ดี สิ่งแวดล้อม และการเลี้ยงดูจึงมีส่วนในการทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้การพูดไม่ชัดเจนติดเป็นนิสัย

เกณฑ์การพิจารณาการพูดไม่ชัด
ได้มีผู้ทำการศึกษาเรื่องการออกเสียงพูดของเด็กช่วงอายุต่างๆ พบว่า เด็กสามารถออกเสียงสระได้ชัดเจนทุกเสียง และผันวรรณยุกต์ได้ทุกเสียง ตั้งแต่อายุก่อน 3-5 ปี ส่วนเสียงพยัญชนะ มีลำดับขั้นพัฒนาการดังนี้
พัฒนาการด้านการออกเสียง

อายุ เสียงที่ออกไม่ชัด
 2.1-2.6 เดือน
 2.7-3 เดือน
 3.1-3.6 เดือน
 3.7-4 เดือน
 4.1-4.6 เดือน
 4.7-5 เดือน
 5.1-5.6 เดือน
 อายุ 7 ปี ขึ้นไป  ม น ห ย ค อ
 เพิ่มเสียง ว บ ป ก
 เพิ่มเสียง ท ต ล จ พ
 เพิ่มเสียง ง ด
 เพิ่มเสียง ฟ
 เพิ่มเสียง ช
 เพิ่มเสียง ส
 เพิ่มเสียง ร

พัฒนาการของการออกเสียงสระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์ ของเด็กไทย สามารถใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาว่าเด็กรายใดที่พูดไม่ชัด สมควรจะต้องได้รับการแก้ไขด้วยการฝึกพูด

การฝึกพูด
เมื่อผู้ที่พูดไม่ชัดได้รับการทดสอบจากนักแก้ไขการพูดและได้รับคำแนะนำให้เด็กมาฝึกพูดแล้ว นักแก้ไขการพูดจะฝึกให้เด็กออกเสียงสระ หรือเสียงพยัญชนะแต่ละเสียงโดยอาศัยความรู้เกี่ยวกับฐานเสียงจากอวัยวะต่างๆ ลักษณะในการเปล่งเสียงพูดออกมา การวางลิ้นให้ถูกต้องตามตำแหน่งในการออกเสียงและลักษณะของลมหายใจ ตลอดจนทิศทางของลมในช่องปากขณะออกเสียงพยัญชนะ หรือสระแต่ละเสียงสอนให้รู้จักฟังเปรียบเทียบเสียงพูดของตนเองกับผู้สอน หรือเปรียบเทียบกับเสียงที่ถูกต้องชัดเจน การฝึกจะทำตั้งแต่ระดับที่เป็นหน่วยเสียงจนเป็นคำ วลี ประโยค ให้เด็กสามารถออกเสียงได้ถูกต้องทุกระดับ ตั้งแต่สามารถออกเสียงได้ถูกต้องเมื่ออยู่ในห้องฝึกจนกว่าจะใช้เสียงที่แก้ไขนั้นได้ในการพูดคุยสนทนาในชีวิตประจำวัน
ในรายที่ไม่จำเป็นต้องได้รับการฝึกจากนักแก้ไขการพูด พ่อแม่ หรือผู้ปกครองเด็กจะได้รับคำแนะนำการปฏิบัติต่อเด็กขณะอยู่บ้าน ดังนี้
1. ควรกระตุ้นการพูดให้ชัดเจนด้วยการให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับเด็กพูดให้ชัดเจนเป็นตัวอย่าง
2. เตือนเด็กเมื่อเด็กพูดไม่ชัด แต่ไม่ให้ดุว่า หรือเคี่ยวเข็ญเด็กให้พูดให้ชัด
3. ไม่ล้อเลียนการพูดไม่ชัดของเด็ก
ส่วนมากเด็กที่พูดไม่ชัดในช่วงอายุ 3-4 ปี จะมีพัฒนาการจากการกระตุ้นเองที่บ้าน ถ้าเกินกว่าช่วงอายุนี้แล้ว ควรแก้ไขด้วยการฝึกพูดจากนักแก้ไขการพูด

คัดลอกมาจาก งานอรรถบำบัด สถาบันราชานุกูล

บทความข้างต้นนี้ ให้แง่คิดเกี่ยวกับ การดูแลลูกๆในการพูด เพื่อให้ลูกของคุณแม่มีพัฒนาการทางภาษาอย่างมีประสิทธิภาพ

วันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2553

“พูดจาภาษาเด็ก” (พ่อแม่ทุกคนควรอ่าน)

“พูดจาภาษาเด็ก”  (พ่อแม่ทุกคนควรอ่าน)

เรื่องที่ 1 : “คำมั่นสัญญา” เสียงกรีดร้องของเด็กที่ได้รับการขัดใจ กลางศูนย์การค้าใหญ่แห่งนั้น
เรียกร้องความสนใจมิใช่น้อยจากผู้คนคับคั่งของบ่ายนั้น

เจ้าของเสียงเป็นด.ช.วัยไม่เกิน6ขวบ ร่างกลมป้อม ผิวขาว ผมหยักสลวย
ขณะนั้น..แกสลัดมือจากผู้ปกครองลงดิ้นปั่ดๆกับพื้นร้องไห้โฮๆ อย่างไม่อายใคร ต่อด้วยคำรำพัน

“คนอะไร!พูดแล้วไม่ทำตามสัญญา”
“เอาเถอะ…เอาเถอะ…แล้วสิ้นเดือนจะซื้อให้”
ผู้หญิงซึ่งคงเป็นมารดา ก้มลงฉุดด้วย คงจะอายต่อสายตา
ซึ่งจับจ้องมาเป็นจุดเดียวเต็มทีแล้ว

แต่พอได้ยินประโยคนั้น พ่อเทวดาน้อยยิ่งแผลงฤทธิ์ ตะเบงขึ้นสุดเสียง
“ไม่เชื่อ…เดี๋ยวแม่ก็หลอกเค้าอีก บอกอย่างนี้มาตั้งหลายหนแล้ว
คนอะไร พูดแล้วก็ไม่ทำตามที่พูด คนโกหก!”

ผู้เป็นพ่อควักผ้าเช็ดหน้าออกมาซับเหงื่อขณะที่เหลียวมองรอบๆด้วยสีหน้าเจื่อนๆ
สุดท้ายก็ตัดสินใจก้มลงคว้าลูกขึ้นมา เดินลิ่วๆออกประตูไป
มองเห็นแขนขาของพ่อหนูกวัดไกวอย่างไม่ยอมแพ้
จนลับตาและเสียงตะโกน
“คนโกหก คนไม่ทำตามคำพูด”

ใครๆ ที่พบเห็นเหตุการณ์บ่ายนั้นต่างพากันหัวเราะขบขัน
ปัญหา ลูกแผลงฤทธิ์จะเอาโน่น เอานี่มีอยู่เสมอจนดูเป็นเรื่องธรรมดาสามัญไปเสียแล้ว แต่เราเคยคิดกันว้างหรือเปล่าว่าเบื้องหลังคำรำพึงรำพันว่า”คนโกหก…พูดไม่ จริง…ไม่ทำตามสัญญา”นั้นมีใครเคยไปสัญญาอะไรไว้กับแกบ้าง

มีบ้างไหม ที่ลูกๆทะเลาะกันแย่งของกัน คุณแก้ปัญหาไม่ตกก็เลยตัดสินด้วยประโยคที่ว่า
“ให้น้องไปก่อน แล้วแม่จะซื้อให้ใหม่”
มีบ้างไหมที่ลูกรบเร้า จะไปโน่น ไปนี่จนคุณรำคาญ ก็เลยสัญญาส่งๆ พอให้แกเลิกมายุ่งกับคุณว่า…
“สิ้นเดือนจะพาไป”

มีบ้างไหม …ที่คุณสัญญากับแก เพียงให้พ้นจากภาวะเฉพาะหน้าด้วยถ้อยคำลักษณะดังนี้
“ให้งานเสร็จก่อน”
“พรุ่งนี้จะพาไป”
“วันหลังจะซื้อให้”
“ไว้อีกหน่อยก่อน”
ฯลฯ

เด็กส่วนมาก ยึดถือคำมั่นสัญญาที่พ่อแม่ให้กับแกอย่างเหนียวแน่น
แกไม่เคยเข้าใจหรอกว่า”วันหลัง”หรือ”อีกหน่อย”ที่คุณสัญญากับแกนั้น
มีระยะเวลาเนิ่นนานสักเพียงไหน

ในขณะที่ “วันหลัง” ของผู้เป็นพ่อแม่ อาจหมายถึงระยะเวลาที่พอจะซื้อข้าวของนั้นๆให้แกได้โดยที่ตัวเองไม่เดือดร้อน
แต่สำหรับลูกๆแล้ว”วันหลัง”ของแกก็คือ เวลาใดก็ได้ที่ไปเจอะเจอสิ่งของนั้นๆเข้า

หรือคำผลัดผ่อนของคุณที่ว่า”ให้งานเสร็จ”
ทันทีที่คุณวางดินสอจากเส้นสายบนกระดาษที่โต๊ะเขียนแบบ
แกก็คิดว่าถึงเวลาที่คุณควรจะพาแกไปเที่ยวได้แล้ว
แกยังไม่รู้จักขั้นตอนของงานว่า กว่าจะเรียบร้อยลุล่วงไปโครงการหนึ่งๆนั้น
จะต้องผ่านการตรวจ…การแก้ กี่ครั้งกี่หน

ความรู้สึกนึกคิดของผู้ใหญ่และเด็กไม่เท่าเทียมกัน ถ้าไม่แน่ใจว่า
จะสามารถทำอะไรได้ในช่วงเวลาอันจำกัด ก็จงอย่าไปใ้คำมั่นสัญญากับแกเป็นอันขาดว่า
“พรุ่งนี้จะซื้อให้”
“งานเสร็จจะพาไป”
“อีกหน่อย…”
หรือถ้าจะสัญญากับแก คุณก็จะต้องอธิบายให้แกเข้าใจถึงระยะเวลาดังกล่าวโดยถี่ถ้วน
เพื่อให้แกตรึกตรองเอาเองว่าแกจะสามารถรอคอยเวลานั้นๆได้หรือไม่

คำสัญญาที่ให้แก่เด็ก เพียงเพื่อให้พ้นจากปัญหาเฉพาะหน้าชั่วครั้งชั่วคราว
โดยคุณไม่ได้คิดที่จะปฏิบัติตามนั้น จะทำให้คุณไม่ได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจจากแกอีกต่อไป
คิดดูเถิดว่า คุณจะต้องสะเทือนใจเพียงไร เมื่อได้ยินแกตะคอกใส่ว่า
“คนโกหก พูดแล้วไม่ทำตามสัญญา!”


เรื่องที่ 2 : “แม่ปูลูกปู”พ่อเบรครถกึกจนบอยหัวทิ่ม ถ้าไม่จับพนักไว้ทันก็คงได้หัวโนหรือปากเจ่อกันบ้าง
อารมณ์ของพ่อเดือดปุด แต่ยังไม่ทันจะอ้าปาก
บอยซึ่งยืดคอขึ้นมองตามสาวน้อยวัยรุ่น 2 คนเพิ่งจะเดินนวยนาดตัดหน้ารถไปอย่างทองไม่รู้ร้อน
และหัวร่อต่อกระซิกกันราวกับเดินอย่างถูกต้องบนทางม้าลาย ก็โผล่หน้าออกไปตะโกนสุดเสียง
“โธ่…อีหนู! เดี๋ยวก็ไม่ได้มีผัวหรอก!”

ทำให้พ่อสะดุ้งเฮือก ผรุสวาจาเผ็ดร้อนอยู่เพียงริมฝีปาก
มองดูบุตรชายวัยเพียง 5 ขวบ
ยังเรียนอยู่ชั้นอนุบาลด้วยซ้ำไป
แล้วก็ถามซ้ำอย่างไม่แน่ใจนัก
“บอยว่าอะไรนะ?”

พ่อหนูเอ่ยซ้ำด้วยน้ำเสียงใสไร้เดียงสา
ดูหน้าตาของแกแทบไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่าแกเข้าใจประโยคที่เอ่ยออกมาทุกถ้อยกระทงความ
“บอยช่วยว่าให้พ่อไง เห็นพ่อว่าอย่างงี้ทุกที เวลาพ่อโกรธ”

แววตาบริสุทธิ์นั้นทำให้พ่อดุแกไม่ลง
นิ่งอยู่ซักพักก่อนที่จะออกรถไปอย่างระมัดระวัง
ระวังทั้งการขับรถและระวังทั้งคำพูดวาจา
ซึ่งมักหลุดออกไปโดยลืมคิดถึงผู้นั่งอยู่ด้วย
เขาผู้นั้นอายุเพียง 5 ขวบ
กำลังพร้อมที่จะรับฟัง และจดจำทุกสิ่งทุกอย่างจากผู้ที่อยู่ใกล้
ทุกสิ่งทุกอย่าง ที่แกนึกว่าเป็นสิ่งงที่ถูกต้องดีงาม
แกยังไม่รู้จักตริตรองหรอกว่า คำไหนพ่อพูดได้
แต่แกพูดแล้ว จะเป็นสิ่งที่ไม่สมควรไป…

อีกรายหนึ่ง แม่เพิ่งรับลูกกลับจากร.ร.ด้วยความอ่อนระโหยเป็นพิเศษ
วันนี้งานเยอะ จนแม่แทบไม่ได้เงยจากโต๊ะทำงาน
กว่าจะขับรถฝ่าการจราจรที่ติดขัดเช่นเคยทุกวัน
กว่าจะค้าหาลูกสาวจากกลุ่มเพื่อนๆกลางสนาม
และกว่าจะพารถค่อยๆเคลื่อนไปตามถนนด้วยเกียร์ 1 2สลับกันอยู่แค่นั้น
แม่ก็เหงื่อตก หน้าซีดเซียว จนแม่หนูวัย 7 ขวบต้องถามขึ้น

“แม่เป็นอะไรจ๊ะ”
“แม่เหนื่อยจังเลยวันนี้ ปวดหัวด้วย ต้องขับรถระวังๆหน่อย”
“โอ๋..ไม่เป็นไรหรอกจ้ะ” แกปลอบผู้เป็นมารดา
“แม่ขับรถไปเรื่อยๆนะจ๊ะ ถ้าใครมันบีบแตร หรือว่าอะไรแม่ก็อย่าไปฟัง หนูจะด่าให้เอง”

แม่ชงัก เกือบจะหายจากความป่วยไข้ในทันที พึมพำอย่างงงๆ
“ด่าเหรอคะ”
“ไอ้บ้า บีบอยู่ได้ เก่งจริงก็แซงขึ้นไปซีวะ จะรีบไปหาพ่อหาแม่ก็ไป
เดี๋ยวจะตายซะก่อนหรอก”

แม่หนูเอ่ยฉาดฉานเพื่อยืนยันความมั่นใจให้แม่
หน้าของผู้เป็นมารดาเจื่อนลงทุกที ก็มันคำพูดของแม่ทั้งนั้นนี่นา
ตั้งแต่เริ่มขับรถ แม่ก็เริ่มปากจัดโดยอัติโนมัติ
และก็มักจะลืมไปทุกทีว่ามีลูกสาวน้อยนั่งอยู่ด้วยข้างหลัง
แกกำลังอยู่ในวัยสังเกตจดจำทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาในสายตาของแก

“หนูอย่าพูดอย่างนั้นอีกนะคะ มันไม่น่าฟังเลย”
แม่เตือน ดวงหน้าของลูกสาวปรากฏความพิศวง แม้ว่าแกจะไม่ปริปาก
แต่ว่าสายตาของแกก็สงสัยอยู่ชัดๆว่า
“ทำไมแม่พูดได้ แต่หนูพูดไม่ได้”

อีกมุมหนึ่ง ผู้ปกครองซึ่งอาจจะเป็นมารดา หรือป้า หรือน้า
กำลังละล้าละหลังจูงเด็กข้ามถนน
รถยนต์เลี้ยวหัวมุมมาโดยเร็ว
และก็เบรคเสียงสนั่นห่างทางม้าลายเพียงคืบเดียว
จะด้วยความโกรธ หรือตกใจก็ตามแต่
คำด่ายาวเหยียดก็หลุดออกมาโดยไม่ได้คิดถึงพ่อหนูแม่หนูที่กำลังจูงอยู่

แน่ละ…ถ้อยคำที่หลุดออกมาโดยมิได้กลั่นกรองเหล่านี้ถูกบันทึกเอาไว้แล้ว
เท่าที่แกจะจดจำได้ และเมื่อไหร่ที่สบโอกาส แกก็จะนำเอามาใช้อย่างเหมาะสม อย่างไม่น่าเชื่อ

ก็เมื่อแม่ปูเดินส่ายไปมาไม่ตรงทาง
แล้วจะบังคับลูกปูเดินถูกทิศทางได้อย่างไร
เด็กๆในวัยนี้นิยมชื่นชมพ่อของแกว่าเป็นวีรบุรุษ
และแม่ก็คือวีรสตรีคนเดียวในความรู้สึกของแก
ฉะนั้น…พึงระลึกไว้ตลอดเวลาว่า …
ไม่อยากให้ลูกเป็นอย่างไร ก็อย่าทำสิ่งนั้นให้แกเห็นเลย

ไขปริศนาภาษาเด็ก ตอนที่ 2

ไขปริศนาภาษาเด็ก ตอนที่ 1

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ลูกหมู 3 ตัว




กาลครั้งหนึ่ง.......แม่หมูให้ลูกๆ ออกไปเผชิญโลกภายนอกด้วยตัวเอง


หมู 3 พี่น้องออกเดินทางได้ซักพัก หมูผู้พี่คนโตที่แซ้นนนจะขี้เกียจก็ร่ำลาน้องๆ หยุดสร้างบ้านด้วยฟาง เพราะว่ามันง่าย แล้วก็เร็วที่สุด จะได้พักแต่งหน้าซักที........แล้ววันนั้นเอง หมาป่าก็ย่องเข้ามาหมายจะงาบบบ บ้านที่สร้างด้วยฟาง ไม่อาจต้านแรงได้ หมูหนึ่งวิ่งหนีอย่างไม่คิดชีวิต ไปหาหมูสองผู้น้อง..........ที่สร้างบ้านด้วยไม้


หมูสอง ต้อนรับหมูหนึ่งได้ไม่นาน เหตุการณ์เดิมๆ ก็มาเยือน....เจ้าหมาป่าตามมาอีกจนได้......แม้แต่บ้านไม้ที่คงทนกว่าก็ยังต้านไม่ไหว........สองพี่น้องจึงต้องไปหาหมูสามเป็นที่พึ่งสุดท้าย


หมูสามยังสร้างบ้านไม่เสร็จ....บ้านอิฐอลังการที่ใช้เวลาสร้างนานมั่กมายกว่าจะได้พัก ก็ได้ประเดิมด้วยการต้อนรับผู้ลี้ภัยทั้ง 2 พอดิบพอดี แบบปูนที่ฉาบยังไม่แห้ง.............คราวนี้หมาป่าชะล่าใจ ว่าตัวเองแข็งแรง ยังไงก็ได้งาบ 3 หมูแน่นแน่ เลยปล่อยให้ 3 หมูฉลองบ้านใหม่กันไปก่อน.....แต่!! เหตุการณ์พลิกโผ บ้านอิฐสร้างเสร็จ ปูนแห้งแข็งกว่า แม้แต่แรงหมาป่าก็ไม่สามารถทำลายบ้านอิฐได้ ไม่ว่าจะขย่มหลังคา หรือตดใส่ บ้านอิฐก็ไม่หวั่น....จนหมาป่าแก่หมดแรง เผลอหลับไป หมูทั้งสามก็เลยจับหมาป่ามาล่ามโซ่เฝ้าบ้านซะเลย คริๆ

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เพลง ก.เอ๋ย ก.ไก่

Language Development of Early Childhood

http://202.183.233.76/online/edu/media/ECED301/ECED301.pdf
มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย
เพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
                    อุดมการณ์และหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย       อุดมการณ์ของการจัดการศึกษาปฐมวัย  เป็นการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับแรกเพื่อวางรากฐานชีวิต
ของเด็กไทยให้เจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์  มีพัฒนาการสมวัยอย่างสมดุล  ทั้งด้านร่างกาย  อารมณ์  จิตใจ  สังคม และสติปัญญา  บนพื้นฐานความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยใช้กิจกรรมกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการของสมองอย่างเต็มที่  รวมทั้งเตรียมเด็กให้พร้อมที่จะเรียนรู้ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับที่สูงขึ้น  อันจะนำไปสู่ความเป็นบุคคลที่มีคุณภาพของประเทศชาติต่อไป  การศึกษาปฐมวัยมุ่งเน้นการพัฒนาเด็กบนพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติ  และ
พัฒนาการของเด็กแต่ละบุคคลภายใต้บริบททางวัฒนธรรม  อารยธรรม  และวิถีชีวิตทางสังคม  ซึ่งลักษณะเฉพาะและแตกต่างกัน
    1.  หลักการพัฒนาเด็กโดยองค์รวม  โดยเริ่มจากการพัฒนาด้านร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์  กระตุ้นให้สมองได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่  พัฒนาด้านจิตใจและอารมณ์ให้เป็นผู้มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง  เชื่อมั่นในตนเอง
ร่าเริงแจ่มใส  สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้  พัฒนาด้านสังคมโดยให้มีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและ
สิ่งแวดล้อมรอบตัว  มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถดำรงชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข  รวมทั้งพัฒนาสติปัญญา  ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์บนวิถีชีวิตของเด็กตามสภาพครอบครัว  บริบทของชุมชน  สังคม  และวัฒนธรรมไทย
   2.  หลักการจัดประสบการณ์ที่ยึดเด็กเป็นสำคัญ  
โดยจัดการอบรมเลี้ยงดูด้วยความรัก  ความเอาใจใส่ และจัดการเรียนรู้ผ่านการเล่นและกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย  โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล เน้นเรียน
ให้สนุก เล่นให้มีความรู้และเกิดการพัฒนาสมวัยอย่างสมดุล
   3.  หลักการสร้างเสริมความเป็นไทย  
โดยการปลูกฝังจิตสำนึกความเป็นคนไทย ความเป็นชาติไทยที่มี
วัฒนธรรมอันดีงาม เคารพนับถือและกตัญญูกตเวทีต่อบิดา  มารดา  มีชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์ เป็น
ศูนย์รวมจิตใจ ทำให้เกิดความรักและภาคภูมิใจในตนเอง ครอบครัว  ท้องถิ่น และประเทศไทย
   4.  หลักความร่วมมือ    
โดยครอบครัว  ชุมชน  และสถานศึกษาร่วมมือกันในการอบรม  เลี้ยงดู  และพัฒนา
เด็กให้มีพัฒนาการเหมาะสมกับวัย  สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพ  และมีความสุข  ตลอด
จนพร้อมที่จะเรียนรู้ในการศึกษาขั้นพื้นฐานต่อไป
   5.  หลักแห่งความสอดคล้อง  
อุดมการณ์และมาตรฐานในการจัดการศึกษาปฐมวัย  ต้องสอดคล้องกับ
สาระบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย    พุทธศักราช  2540  พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พุทธศักราช  2542  และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2)พุทธศักราช 2545  นโยบายการศึกษาของรัฐบาลท
ี่แถลงต่อรัฐสภา  สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของชาติ  และสัมพันธ์เชื่อมโยงกับมาตรฐานการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน
          มาตรฐานด้านคุณภาพเด็ก
            มาตรฐานด้านการจัดการเรียนรู้
            มาตรฐานด้านการบริหารและการจัดการศึกษา
            มาตรฐานด้านการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้
            มาตรฐานด้านคุณภาพเด็ก
มาตรฐานที่  1  เด็กมีคุณธรรม  จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์           ตัวบ่งชี้
                   1.1  มีวินัย  มีความรับผิดชอบ ปฏิบัติตามข้อตกลงร่วมกัน
                   1.2  มีความซื่อสัตย์สุจริต
                   1.3  มีความกตัญญูกตเวที
                   1.4  มีความเมตตา  กรุณา  มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง และผู้อื่น
                   1.5  ประหยัด  รู้จักใช้และรักษาทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม
                   1.6  มีมารยาทและปฏิบัติตนตามวัฒนธรรมไทย
 
มาตรฐานที่ 2  เด็กมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม           ตัวบ่งชี้
                   1.1  รับรู้คุณค่าของสิ่งแวดล้อมและผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง
                           สิ่ง แวดล้อม
                   1.2  เข้าร่วมหรือมีส่วนร่วมในกิจกรรม/โครงการอนุรักษ์และพัฒนา
                           สิ่งแวดล้อม
 
มาตรฐานที่  3  เด็กสามารถทำงานจนสำเร็จ  ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้และมีความรู้สึกที่ดีต่ออาชีพสุจริต               ตัวบ่งชี้
                   1.1  สนใจและกระตือรือร้นในการทำงาน
                   1.2  ทำงานจนสำเร็จและภูมิใจในผลงาน
                   1.3  เล่นและทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้
                   1.4  มีความรู้สึกที่ดีต่ออาชีพสุจริต

มาตรฐานที่  4  เด็กสามารถคิดรวบยอด  คิดแก้ปัญหา  และคิดริเริ่มสร้างสรรค์
               ตัวบ่งชี้
                   1.1  มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆที่เกิดจากการเรียนรู้
                   1.2  แก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย
                   1.3 มีจินตนาการ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
มาตรฐานที่  5  เด็กมีความรู้และทักษะเบื้องต้น               ตัวบ่งชี้
                   1.1  มีทักษะในการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ - เล็ก
                   1.2  มีทักษะในการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
                   1.3  มีทักษะในการสื่อสาร
                   1.4  มีทักษะในการสังเกตและสำรวจ
                   1.5  มีทักษะในเรื่องมิติสัมพันธ์
                   1.6  มีทักษะในเรื่องจำนวน  ปริมาณ  น้ำหนัก  และการกะประมาณ
                   1.7  เชื่อมโยงความรู้และทักษะต่าง ๆ
มาตรฐานที่  6  เด็กมีความสนใจใฝ่รู้  รักการอ่าน  และพัฒนาตนเอง               ตัวบ่งชี้
                   1.1  รู้จักตั้งคำถามเพื่อหาเหตุผล  และมีความสนใจใฝ่รู้
                   1.2  มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว และสนุกกับการเรียนรู้
มาตรฐานที่  7  เด็กมีสุขนิสัย  สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี               ตัวบ่งชี้
                   1.1  รักการออกกำลังกาย  ดูแลสุขภาพ  และช่วยเหลืตนเองได้
                   1.2  มีน้ำหนัก  ส่วนสูง  และมีสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์
                   1.3  เห็นโทษของสิ่งเสพติดให้โทษและสิ่งมอมเมา
                   1.4  มีความมั่นใจ  กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม
                   1.5  ร่าเริงแจ่มใส  มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ต่อ ครู  เพื่อน และผู้อื่น
มาตรฐานที่  8  เด็กมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ  ดนตรี  และการเคลื่อนไหว               ตัวบ่งชี้
                   1.1  มีความสนใจและร่วมกิจกรรมด้านศิลปะ
                   1.2  มีความสนใจและร่วมกิจกรรมด้านดนตรี
                   1.3  มีความสนใจและร่วมกิจกรรมการเคลื่อนไหว
ที่มา....สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ  กระทรวงศึกษาธิการ
รวบรวมโดย...นางรัมภา  สรรพกุล  โรงเรียนอนุบาลระนอง