วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย
เพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
                    อุดมการณ์และหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย       อุดมการณ์ของการจัดการศึกษาปฐมวัย  เป็นการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับแรกเพื่อวางรากฐานชีวิต
ของเด็กไทยให้เจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์  มีพัฒนาการสมวัยอย่างสมดุล  ทั้งด้านร่างกาย  อารมณ์  จิตใจ  สังคม และสติปัญญา  บนพื้นฐานความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยใช้กิจกรรมกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการของสมองอย่างเต็มที่  รวมทั้งเตรียมเด็กให้พร้อมที่จะเรียนรู้ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับที่สูงขึ้น  อันจะนำไปสู่ความเป็นบุคคลที่มีคุณภาพของประเทศชาติต่อไป  การศึกษาปฐมวัยมุ่งเน้นการพัฒนาเด็กบนพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติ  และ
พัฒนาการของเด็กแต่ละบุคคลภายใต้บริบททางวัฒนธรรม  อารยธรรม  และวิถีชีวิตทางสังคม  ซึ่งลักษณะเฉพาะและแตกต่างกัน
    1.  หลักการพัฒนาเด็กโดยองค์รวม  โดยเริ่มจากการพัฒนาด้านร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์  กระตุ้นให้สมองได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่  พัฒนาด้านจิตใจและอารมณ์ให้เป็นผู้มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง  เชื่อมั่นในตนเอง
ร่าเริงแจ่มใส  สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้  พัฒนาด้านสังคมโดยให้มีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและ
สิ่งแวดล้อมรอบตัว  มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถดำรงชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข  รวมทั้งพัฒนาสติปัญญา  ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์บนวิถีชีวิตของเด็กตามสภาพครอบครัว  บริบทของชุมชน  สังคม  และวัฒนธรรมไทย
   2.  หลักการจัดประสบการณ์ที่ยึดเด็กเป็นสำคัญ  
โดยจัดการอบรมเลี้ยงดูด้วยความรัก  ความเอาใจใส่ และจัดการเรียนรู้ผ่านการเล่นและกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย  โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล เน้นเรียน
ให้สนุก เล่นให้มีความรู้และเกิดการพัฒนาสมวัยอย่างสมดุล
   3.  หลักการสร้างเสริมความเป็นไทย  
โดยการปลูกฝังจิตสำนึกความเป็นคนไทย ความเป็นชาติไทยที่มี
วัฒนธรรมอันดีงาม เคารพนับถือและกตัญญูกตเวทีต่อบิดา  มารดา  มีชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์ เป็น
ศูนย์รวมจิตใจ ทำให้เกิดความรักและภาคภูมิใจในตนเอง ครอบครัว  ท้องถิ่น และประเทศไทย
   4.  หลักความร่วมมือ    
โดยครอบครัว  ชุมชน  และสถานศึกษาร่วมมือกันในการอบรม  เลี้ยงดู  และพัฒนา
เด็กให้มีพัฒนาการเหมาะสมกับวัย  สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพ  และมีความสุข  ตลอด
จนพร้อมที่จะเรียนรู้ในการศึกษาขั้นพื้นฐานต่อไป
   5.  หลักแห่งความสอดคล้อง  
อุดมการณ์และมาตรฐานในการจัดการศึกษาปฐมวัย  ต้องสอดคล้องกับ
สาระบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย    พุทธศักราช  2540  พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พุทธศักราช  2542  และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2)พุทธศักราช 2545  นโยบายการศึกษาของรัฐบาลท
ี่แถลงต่อรัฐสภา  สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของชาติ  และสัมพันธ์เชื่อมโยงกับมาตรฐานการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน
          มาตรฐานด้านคุณภาพเด็ก
            มาตรฐานด้านการจัดการเรียนรู้
            มาตรฐานด้านการบริหารและการจัดการศึกษา
            มาตรฐานด้านการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้
            มาตรฐานด้านคุณภาพเด็ก
มาตรฐานที่  1  เด็กมีคุณธรรม  จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์           ตัวบ่งชี้
                   1.1  มีวินัย  มีความรับผิดชอบ ปฏิบัติตามข้อตกลงร่วมกัน
                   1.2  มีความซื่อสัตย์สุจริต
                   1.3  มีความกตัญญูกตเวที
                   1.4  มีความเมตตา  กรุณา  มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง และผู้อื่น
                   1.5  ประหยัด  รู้จักใช้และรักษาทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม
                   1.6  มีมารยาทและปฏิบัติตนตามวัฒนธรรมไทย
 
มาตรฐานที่ 2  เด็กมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม           ตัวบ่งชี้
                   1.1  รับรู้คุณค่าของสิ่งแวดล้อมและผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง
                           สิ่ง แวดล้อม
                   1.2  เข้าร่วมหรือมีส่วนร่วมในกิจกรรม/โครงการอนุรักษ์และพัฒนา
                           สิ่งแวดล้อม
 
มาตรฐานที่  3  เด็กสามารถทำงานจนสำเร็จ  ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้และมีความรู้สึกที่ดีต่ออาชีพสุจริต               ตัวบ่งชี้
                   1.1  สนใจและกระตือรือร้นในการทำงาน
                   1.2  ทำงานจนสำเร็จและภูมิใจในผลงาน
                   1.3  เล่นและทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้
                   1.4  มีความรู้สึกที่ดีต่ออาชีพสุจริต

มาตรฐานที่  4  เด็กสามารถคิดรวบยอด  คิดแก้ปัญหา  และคิดริเริ่มสร้างสรรค์
               ตัวบ่งชี้
                   1.1  มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆที่เกิดจากการเรียนรู้
                   1.2  แก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย
                   1.3 มีจินตนาการ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
มาตรฐานที่  5  เด็กมีความรู้และทักษะเบื้องต้น               ตัวบ่งชี้
                   1.1  มีทักษะในการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ - เล็ก
                   1.2  มีทักษะในการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
                   1.3  มีทักษะในการสื่อสาร
                   1.4  มีทักษะในการสังเกตและสำรวจ
                   1.5  มีทักษะในเรื่องมิติสัมพันธ์
                   1.6  มีทักษะในเรื่องจำนวน  ปริมาณ  น้ำหนัก  และการกะประมาณ
                   1.7  เชื่อมโยงความรู้และทักษะต่าง ๆ
มาตรฐานที่  6  เด็กมีความสนใจใฝ่รู้  รักการอ่าน  และพัฒนาตนเอง               ตัวบ่งชี้
                   1.1  รู้จักตั้งคำถามเพื่อหาเหตุผล  และมีความสนใจใฝ่รู้
                   1.2  มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว และสนุกกับการเรียนรู้
มาตรฐานที่  7  เด็กมีสุขนิสัย  สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี               ตัวบ่งชี้
                   1.1  รักการออกกำลังกาย  ดูแลสุขภาพ  และช่วยเหลืตนเองได้
                   1.2  มีน้ำหนัก  ส่วนสูง  และมีสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์
                   1.3  เห็นโทษของสิ่งเสพติดให้โทษและสิ่งมอมเมา
                   1.4  มีความมั่นใจ  กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม
                   1.5  ร่าเริงแจ่มใส  มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ต่อ ครู  เพื่อน และผู้อื่น
มาตรฐานที่  8  เด็กมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ  ดนตรี  และการเคลื่อนไหว               ตัวบ่งชี้
                   1.1  มีความสนใจและร่วมกิจกรรมด้านศิลปะ
                   1.2  มีความสนใจและร่วมกิจกรรมด้านดนตรี
                   1.3  มีความสนใจและร่วมกิจกรรมการเคลื่อนไหว
ที่มา....สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ  กระทรวงศึกษาธิการ
รวบรวมโดย...นางรัมภา  สรรพกุล  โรงเรียนอนุบาลระนอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น