วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การพูดไม่ชัด

การพูดไม่ชัด
การพูดไม่ชัด
เป็นความผิดปกติเกี่ยวกับการเปล่งเสียงพูด ซึ่งมีทั้งเสียงสระ พยัญชนะ และเสียงวรรณยุกต์

ลักษณะการพูดไม่ชัด
แบ่งได้ออกเป็น 4 ลักษณะ
 พูดอออกเสียงโดยใช้เสียงพยัญชนะหรือเสียงสระอื่นแทนเสียงที่ควรพูด เช่น ใช้ อ อ่าง แทน ก ไก่ เมื่อพูดคำว่า “ไก่” จึงออกเสียงเป็น “ไอ่” หรือใช้สระ เอ แทน สระ แอ พูด “เกง” แทน “แกง”
 พูดออกเสียงไม่ครบทุกเสียง มีการเว้นไม่ออกเสียงพยัญชนะบางเสียง เช่น “กลาง” พูดเป็น “กาง” “นอน” พูดเป็น “นอ”
 พูดผิดเพี้ยนไปจนฟังไม่ออกว่าเป็นเสียงสระ หรือเสียงพยัญชนะใด
 พูดเติมเสียงสระ หรือพยัญชนะเข้าไปในคำ เช่น พูด “กะริน” แทน “กิน”

สาเหตุการพูดไม่ชัด
1. โครงสร้าง หรือการทำงานของอวัยวะเกี่ยวกับการพูด หรือการฟังผิดปกติ ได้แก่
 เกิดความบกพร่องในการทำงานของระบบประสาท และกล้ามเนื้อที่ช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูด ได้แก่ ลิ้น เพดานอ่อน หรือลิ้นไก่ เป็นอัมพาตอ่อนแรง ทำให้ออกเสียงพยัญชนะ และสระผิดเพี้ยนไป
 ปากแหว่ง เพดานโหว่ ทำให้พูดไม่ชัด เพราะเด็กใช้อวัยวะไม่ถูกต้องในการออกเสียงพูด การพูดไม่ชัด ในกรณีนี้เป็นปัญหาร่วมกับการพูดเสียงขึ้นจมูก
 มีความผิดปกติที่อวัยวะในช่องปาก เช่น เส้นยึดใต้ลิ้นสั้นมาก เพดานโหว่
 หูพิการ ไม่ได้ยินเสียงพูดของผู้อื่นหรือได้ยินแต่ไม่ชัดทำให้การเลียนแบบไม่ถูกต้อง ตัวผู้พูดเองไม่ได้ยินเสียงของตนเอง ทำให้ไม่สามารถปรับการพูดของตนเองให้ถูกต้อง ชัดเจน
 ปัญญาอ่อน เด็กที่ระดับสติปัญญาไม่ดี มักมีปัญหาการพูดไม่ชัด
2. การเรียนรู้การพูดไม่ถูกต้อง
เด็กจำนวนมากพูดไม่ชัดเนื่องจากสาเหตุเด็กเหล่านี้มีโครงสร้างและการทำงานของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูดเป็นปกติ บางรายอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี เช่น อยู่กับคนที่พูดไม่ชัด ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดไม่ได้ กระตุ้นให้เด็กพูดให้ถูกต้องชัดเจนตั้งแต่แรก เด็กขาดโอกาสในการเลียนแบบการพูดที่ดี สิ่งแวดล้อม และการเลี้ยงดูจึงมีส่วนในการทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้การพูดไม่ชัดเจนติดเป็นนิสัย

เกณฑ์การพิจารณาการพูดไม่ชัด
ได้มีผู้ทำการศึกษาเรื่องการออกเสียงพูดของเด็กช่วงอายุต่างๆ พบว่า เด็กสามารถออกเสียงสระได้ชัดเจนทุกเสียง และผันวรรณยุกต์ได้ทุกเสียง ตั้งแต่อายุก่อน 3-5 ปี ส่วนเสียงพยัญชนะ มีลำดับขั้นพัฒนาการดังนี้
พัฒนาการด้านการออกเสียง

อายุ เสียงที่ออกไม่ชัด
 2.1-2.6 เดือน
 2.7-3 เดือน
 3.1-3.6 เดือน
 3.7-4 เดือน
 4.1-4.6 เดือน
 4.7-5 เดือน
 5.1-5.6 เดือน
 อายุ 7 ปี ขึ้นไป  ม น ห ย ค อ
 เพิ่มเสียง ว บ ป ก
 เพิ่มเสียง ท ต ล จ พ
 เพิ่มเสียง ง ด
 เพิ่มเสียง ฟ
 เพิ่มเสียง ช
 เพิ่มเสียง ส
 เพิ่มเสียง ร

พัฒนาการของการออกเสียงสระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์ ของเด็กไทย สามารถใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาว่าเด็กรายใดที่พูดไม่ชัด สมควรจะต้องได้รับการแก้ไขด้วยการฝึกพูด

การฝึกพูด
เมื่อผู้ที่พูดไม่ชัดได้รับการทดสอบจากนักแก้ไขการพูดและได้รับคำแนะนำให้เด็กมาฝึกพูดแล้ว นักแก้ไขการพูดจะฝึกให้เด็กออกเสียงสระ หรือเสียงพยัญชนะแต่ละเสียงโดยอาศัยความรู้เกี่ยวกับฐานเสียงจากอวัยวะต่างๆ ลักษณะในการเปล่งเสียงพูดออกมา การวางลิ้นให้ถูกต้องตามตำแหน่งในการออกเสียงและลักษณะของลมหายใจ ตลอดจนทิศทางของลมในช่องปากขณะออกเสียงพยัญชนะ หรือสระแต่ละเสียงสอนให้รู้จักฟังเปรียบเทียบเสียงพูดของตนเองกับผู้สอน หรือเปรียบเทียบกับเสียงที่ถูกต้องชัดเจน การฝึกจะทำตั้งแต่ระดับที่เป็นหน่วยเสียงจนเป็นคำ วลี ประโยค ให้เด็กสามารถออกเสียงได้ถูกต้องทุกระดับ ตั้งแต่สามารถออกเสียงได้ถูกต้องเมื่ออยู่ในห้องฝึกจนกว่าจะใช้เสียงที่แก้ไขนั้นได้ในการพูดคุยสนทนาในชีวิตประจำวัน
ในรายที่ไม่จำเป็นต้องได้รับการฝึกจากนักแก้ไขการพูด พ่อแม่ หรือผู้ปกครองเด็กจะได้รับคำแนะนำการปฏิบัติต่อเด็กขณะอยู่บ้าน ดังนี้
1. ควรกระตุ้นการพูดให้ชัดเจนด้วยการให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับเด็กพูดให้ชัดเจนเป็นตัวอย่าง
2. เตือนเด็กเมื่อเด็กพูดไม่ชัด แต่ไม่ให้ดุว่า หรือเคี่ยวเข็ญเด็กให้พูดให้ชัด
3. ไม่ล้อเลียนการพูดไม่ชัดของเด็ก
ส่วนมากเด็กที่พูดไม่ชัดในช่วงอายุ 3-4 ปี จะมีพัฒนาการจากการกระตุ้นเองที่บ้าน ถ้าเกินกว่าช่วงอายุนี้แล้ว ควรแก้ไขด้วยการฝึกพูดจากนักแก้ไขการพูด

คัดลอกมาจาก งานอรรถบำบัด สถาบันราชานุกูล

บทความข้างต้นนี้ ให้แง่คิดเกี่ยวกับ การดูแลลูกๆในการพูด เพื่อให้ลูกของคุณแม่มีพัฒนาการทางภาษาอย่างมีประสิทธิภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น